|
1. สภาพสังคม |
|
ราษฎรชาวไทลื้อบ้านถิ่น ดั้งเดิมนั้นสันนิษฐานว่าได้อพยพมาจากบ้านถิ่น ในแคว้นสิบสองปันนาซึ่งอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ปัจจุบัน บ้านถิ่น
จึงเป็นบ้านของคนไทลื้อที่มีภาษาพูดอันไพเราะ เป็นตัวของตัวเอง มีเครื่องแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร มีคนนำไปเลียน
แบบ มีลีลาการฟ้อนรำ มีฝีมือทางด้านหัตถกรรมทอผ้า
และการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ที่สวยงาม นี่คือประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิม
ของชาวไทลื้อ |
|
คนไทลื้อมีวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตคล้ายกันจะอาศัยอยู่เป็นบ้านเป็นเมืองใกล้เคียงกันตั้งแต่มณฑลยู นนานของจีนมาจนถึงรัฐฉาน ของพม่าในปัจจุบัน) การย้ายถิ่นฐาน
การอพยพ และการถูกกวาดต้อนที่เกิดขึ้นกับผู้คนจากสิบสองปันนาเป็นจำนวนมากมีจำนวน
เป็นหมื่น และบ่อยครั้ง ในสมัยนั้น ได้พบอุปสรรคในการเดินทางหลายอย่าง ต้องเดินทางผ่านป่าเขา
และแม่น้ำตลอดจนโรคภัยไข้เจ็บ
การเดินทางจึงเป็นไปโดยความลำบาก และต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางยาวนาน จึงสันนิษฐานได้ว่าอาจมีการแอบลักลอบหนีในระหว่าง
การเดินทาง
เป็นสาเหตุให้คนที่ถูกต้อนมาบางส่วนได้หยุดตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเส้นทางการอพยพ ซึ่งบ้านถิ่นถือว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่
ชาวไทลื้อบ้านถิ่นแอบหนีการกวาดต้อนมาหยุดตั้งถิ่นฐาน
จากประวัติวัดทั่วประเทศบันทึกไว้ว่า วัดถิ่นในตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม
พุทธศักราช
2332 จากเดิมที่มีกันไม่กี่ครอบครัวก็เริ่มขยายออกเป็นจำนวนครัวเรือนที่มากขึ้นตามลำดับ
กลายเป็นหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน
ขึ้นมาพร้อมทั้งเรียกตัวเองว่าเป็นคนบ้านถิ่น ตามสถานที่ที่เคยอยู่ที่เมืองเชียงรุ้ง แคว้นสิบสองปันนา ซึ่งสอดคล้องกับคำบอกเล่าของ
พ่อกำนันแก้ว ธรรมสรางกูร
ที่บอกว่า ชาวไทลื้อบ้านถิ่น ดั้งเดิมเป็นชาวลื้อ แคว้นสิบสองปันนา จะอพยพมากันเท่าไร? เมื่อใด? ด้วยเหตุใด?
นั้นไม่ทราบ คนสมัยก่อนนั้นคงจะรบรากันแล้วกวาดต้อนเชลยศึกมาเป็นข้ารับใช้
ในบ้านเมือง ของตนเองก็ได้ พ่อแก้วบอกว่า ได้ฟังมาจาก
พ่อกำนันตาล ธุรกิจ พ่อผู้ใหญ่จันดี ถิ่นสอน และพ่ออาจารย์มี ธุรกิจ เล่าให้ฟังว่า คราวที่ถูกเกณฑ์ไปรบเชียงตุงในสงครามอินโดจีน ได้ไป
พักอาศัยอยู่ในเมืองยองมีบ้านอยู่บ้านหนึ่งชื่อว่า “บ้านถิน” ไม่มีไม้เอกบ้านถินนั้นเขามีขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เหมือนกันกับบ้านถิ่น
ของเรา ในสมัยก่อนที่ผู้หญิงนุ่งซิ่นแหล้
(หัวซิ่นสีขาว) มีผ้าขาวโพกหัว ผู้ชายนุ่งผ้าต้อย บ้านเรือนที่อยู่อาศัยก็มี “แป้นต้อง” อยู่ท่ามกลาง
ระหว่าง เป็นเขตหวงห้ามของการถือผีบ้านผีเรือนในเรือนที่อยู่ของตน พ่ออาจารย์มี
ยังเอาติดตามมาอยู่ด้วยคนหนึ่ง ชื่อ ไอ้แปง ภาษาพูด
ของเขาเป็นแบบดั้งเดิม เช่น คนบ้านถิ่น เรียก “วัว” ว่า “โง” แต่ไอ้แปงเรียกเพี้ยนว่า “โง่” |
|
จากคำบอกเล่า ของ พ่ออาจารย์สะอาด ถิ่นทิพย์ ได้บันทึกไว้ว่า คนยองบ้านถิ่นได้อพยพมาจากเมืองลำพูน ป่าซาง (เผ่าลื้อเมืองยอง) ในสมัยที่เกิดมีข้าศึกรุกรานเมืองเชียงใหม่
และเมืองลำพูนเป็นเมืองอยู่ในอาณาเขตเดียวกับเชียงใหม่จึงถูกรุกรานไปด้วย ชนเผ่าลื้อยองเป็น
ชนที่รักความสงบ ไม่ชอบมีเรื่องราวยุ่งกับใคร จึงเกิดมีคนในเผ่าบางส่วนประมาณ 30 - 50 คน
ได้รวมกันอพยพหนีการรุกรานมาทางเมือง
โกศัย(แพร่) มาพบสถานที่ที่อุดมสมบูรณ์บริเวณบ้านถิ่นปัจจุบันจึงตั้งรกรากประกอบอาชีพ ทำมาหากิน อยู่อย่างสงบ จนมีประชากรมากขึ้นตามลำดับ |
|
|
 |
|
|
|
|
2. ที่ตั้ง และ อาณาเขต |
|
ตำบลบ้านถิ่น ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 7 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 17.230
ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 10,768.75 ไร่ |
|
|
|
|
3. อาณาเขตติดต่อ |
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลร่องฟองและตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลสวนเขื่อนและตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลร่องฟองและตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมืองแพร |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
4. สภาพภูมิประเทศ |
|
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ของตำบลบ้านถิ่น เป็นพื้นที่ราบ ทางด้านตะวันออกเป็นภูเขาสูง
ทำให้พื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก มีลำห้วยแม่แคมเป็นแหล่งน้ำสายใหญ่ของตำบลบ้านถิ่น |
|
|
|
|
5. ลักษณะภูมิอากาศ |
|
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป มี 3 ฤดู คือ |
|
- |
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือน มีนาคม ถึง เดือน พฤษภาคม |
|
- |
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือน มิถุนายน ถึง เดือน ตุลาคม |
|
- |
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน ถึง เดือน กุมภาพันธ์ |